ผิวหน้าลอกเป็นขุย ปัญหาผิวที่พบได้บ่อยและอาจเกิดจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศ, การดูแลผิวที่ไม่เหมาะสม การขาดความชุ่มชื้น หรือแม้แต่การแพ้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ บทความนี้จะพาคุณไปเจาะลึกสาเหตุของผิวหน้าลอกเป็นขุย พร้อมวิธีแก้ไขที่ได้ผลเพื่อผิวหน้ากลับมาเนียนนุ่ม ชุ่มชื้น อิ่มน้ำอีกครั้ง
หน้าลอกเป็นขุย
- หน้าลอกเป็นขุย คืออะไร มีลักษณะอย่างไร ?
- หน้าลอกเป็นขุย เกิดจากอะไร ?
- 4 วิธีรักษาหน้าลอกเป็นขุย
- 10 วิธีป้องกันการเกิดหน้าลอกเป็นขุย
หน้าลอกเป็นขุย คืออะไร มีลักษณะอย่างไร ?
หน้าลอกเป็นขุย เป็นปัญหาที่ผิวหนังชั้นกำพร้าเกิดการหลุดลอกออกมา ทำให้ผิวหนังเกิดการแห้งแตกเป็นสะเก็ด มีอาการคันตรงบริเวณผิวหน้า และรอยแดงที่ผิวได้ ซึ่งสำหรับบางคนอาจมีอาการรุนแรง เช่นผิวหนังตรงบริเวณใบหน้ามีการลอกออกมาเป็นแผ่น จนทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิว
หน้าลอกเป็นขุย เป็นปัญหาผิวหนังที่เกิดการการที่ผิวแห้งแตก หรือเกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน โดยผิวแห้ง หรือหน้าแห้ง คือการที่น้ำมันที่เคลือบผิวหนังลดลง เกิดจากการสูญเสียน้ำในผิวหนัง ส่งผลให้ผิวหนังขาดความชุ่มชื้น เมื่อผิวหนังเกิดการผลิตน้ำมันไม่เพียงพอก็จะทำให้ผิวหน้าเกิดการแห้ง แต่ถ้าหากผิวหนังมีการผลิตน้ำมันมากจนเกินไป ก็ทำให้เกิดสิวได้
หน้าลอกเป็นขุย จะมีลักษณะดังนี้
- ผิวหน้าแห้ง ใบหน้าจะเกิดอาการตึง แห้ง และใบหน้าขาดความชุ่มชื้น
- ผิวหนังลอก เนื่องจากเซลล์ผิวหนังชั้นนอกจะเกิดการหลุดออกมาเป็นแผ่นบาง ๆ หรือเป็นชื้นเล็ก ๆ
- ผิวหน้าเป็นขุย จะเกิดเป็นเศษผิวหน้าที่มีขนาดเล็ก คล้ายกับรำข้าวบนใบหน้า
- ผิวหน้าเกิดอาการคัน สำหรับบางบุคคลจะรู้สึกคันเล็กน้อยตรงบริเวณที่ผิวเกิดการลอก
- ผิวหน้าไม่เรียบเนียน เนื่องเกิดจากการที่ผิวเกิดการลอก ทำให้ผิวหน้าดูไม่เรียบเนียนสม่ำเสมอ
- ผิวหน้ามีรอยแดง สำหรับบางครั้งผิวหน้าที่เกิดการลอก อาจมีรอยแดง หรืออาการระคายเคือง
หน้าลอกเป็นขุย เกิดจากอะไร ?
หากสังเกตว่าผิวหน้าเริ่มลอกเป็นขุยและดูแห้งกร้านโดยไม่ทราบสาเหตุ อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าผิวกำลังเผชิญกับปัญหาบางประการ การเข้าใจสาเหตุของการเกิดหน้าลอกเป็นขุยเป็นสิ่งสำคัญในการเลือกวิธีการรักษาที่ถูกต้อง โดยปัญหาหน้าลอกเป็นขุย เกิดได้จากหลายปัจจัย ดังนี้
- ผิวหนังขาดน้ำ เป็นสาเหตุที่พบเจอบ่อยที่สุด ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายได้รับน้ำน้อยเกินไป จนทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ ส่งผลให้ผิวหนังขาดความชุ่มชื้น
- การขาดสารอาหารบางชนิด เช่น วิตามินบี วิตามินอี และกรดไขมันจำเป็น สารอาหารเหล่านี้จำเป็นต่อสุขภาพผิว
- สภาพอากาศ อากาศแห้ง และอากาศหนาวเย็น จะดึงเอาความชื้นออกจากผิวหนัง ทำให้ผิวหนังเกิดการแห้ง หรือลอกเป็นขุย ซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็วก็จะส่งผลต่อผิวเหมือนกัน
- แสงแดด รังสี UV จะทำลายชั้นผิวหนัง ทำให้ผิวสูญเสียความชุ่มชื้น
- การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมทำให้เกิดการระคายเคือง เช่น แอลกอฮอล์ หรือกรด BHA AHA อยู่ในปริมาณมากเกินไป จนทำให้ผิวหน้าเกิดการระคายเคือง และเกิดการลอกขุยได้
- การทำความสะอาดผิวบ่อยเกินไป อาจจะทำลายชั้นไขมันบนผิว ทำให้ผิวแห้ง และลอกเป็นขุย รวมถึงการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่รุนแรงเกินไป
- การเกิดอาการแพ้ หรืออาการระคายเคือง สารเคมีบางชนิดอาจทำให้เกิดอาการแพ้ หรือระคายเคือง เช่น น้ำหอม หรือสารกันบูด เป็นต้น และการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมาะกับสภาพผิว
- ความเครียด เมื่อร่างกายมีภาวะความเครียด จะทำให้เกิดการหลั่งของฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมา ทำให้ผิวหนังเกิดการสูญเสียน้ำ และความชุ่มชื้น
- ฮอร์โมนเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น ช่วงเป็นประจำเดือน ช่วงตั้งครรภ์ หรือช่วงวัยทอง อาจจะส่งผลต่อความชุ่มชื้นของผิวหนัง
- โรคผิวหนังบางชนิด เช่น โรคผิวหนังอักเสบ หรือโรคสะเก็ดเงิน อาจทำให้ผิวหน้าแห้ง และลอกเป็นขุยได้
- การใช้ยาบางชนิด ยาบางชนิด เช่น ยาแก้แพ้ ยารักษาสิว อาจมีผลข้างเคียงทำให้ผิวแห้ง
4 วิธีรักษาหน้าลอกเป็นขุย
การรักษาผิวหน้าลอกเป็นขุยนั้น มีหลากหลายวิธี ทั้งหัตถการและการดูแลผิวหน้าอย่างเหมาะสม โดยต่อไปนี้คือวิธีการรักษาที่สามารถช่วยบรรเทาปัญหาผิวหน้าลอกเป็นขุยได้
1. รักษาด้วยกลุ่มหัตถการบำรุงและฟื้นฟูผิว
อย่างที่ทราบกันปัญหาผิว เช่นผิวแห้งกร้าน ผิวหน้าหมองคล้ำ หรือรูขุมขนที่มีขนาดกว้าง ล้วนเป็นเรื่องที่สร้างความกวนใจให้กับใครหลายคน ซึ่งการดูแลผิวด้วยตัวเองจึงเป็นสิ่งสำคัญ แต่การทำหัตถการบำรุงผิว และการฟื้นฟูก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้ผิวกลับมาสวยใสได้อย่างรวดเร็ว และเห็นผลอย่างชัดเจน
- การทำทรีตเมนต์บำรุงผิว (Facial Treatment) เป็นวิธีการดูแลผิวหน้าอย่างล้ำลึกโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อช่วยปรับปรุงสภาพผิวหน้า และช่วยแก้ไขปัญหาผิวหนังต่าง ๆ
- การทำพีลลิ่ง (Chemical Peels) เป็นการรักษาโดยจะใช้สารเคมีเพื่อช่วยผลัดเซลล์ผิวชั้นนอกออกไป ซึ่งจะทำให้ผิวหนังดูเรียบเนียน มีความกระจ่างใส ช่วยลดเลือนรอยดำ และรอยแดง การทำพีลลิ่งมีความเข้มข้นหลายระดับให้เลือกกับสภาพผิว เช่น Alpha Hydroxy Acids (AHAs), Beta Hydroxy Acids (BHAs), Trichloroacetic Acid (TCA)
- การทำทรีตเมนต์ด้วยไมโครเดอร์มาเบรชั่น (Microdermabrasion) เป็นการขัดผิวด้วยผลึกที่มีขนาดเล็กมาก หรือเครื่องมือพิเศษ เช่นหัวดูดที่มีความหยาบต่างกันมาขัดผิว ซึ่งจะช่วยผลัดเซลล์ผิวเก่า และช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างคอลลาเจน ทำให้ผิวหนังมีความเรียบเนียน ผิวหนังมีความสว่างใส ช่วยลดรอยดำที่เกิดจากสิว และช่วยลดริ้วรอย
2. รักษาด้วยกลุ่มหัตถการเลเซอร์และการฉีดสารบำรุง
การใช้เลเซอร์และการฉีดสารบำรุง เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ได้รับความนิยมในการดูแลผิว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับปัญหาผิวหน้าที่ต้องการการแก้ไขในระดับลึก
- การทำเลเซอร์บำรุงผิว (Laser Resurfacing): เป็นการรักษาที่ใช้แสงเลเซอร์พลังงานสูงยิงลงตรงที่ผิวหนัง ซึ่งเลเซอร์จะช่วยผลัดเซลล์ผิวชั้นนอกออก และกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน ทำให้ผิวเรียบเนียน ลดริ้วรอย กระชับรูขุมขน และแก้ไขปัญหาผิวต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
- การฉีดฟิลเลอร์หรือสารเติมเต็มผิว (Dermal Fillers): เป็นการฉีดสารเติมเต็มประเภทไฮยาลูรอนิก แอซิด (Hyaluronic acid) ซึ่งเป็นสารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในร่างกายมนุษย์ โดยฟิลเลอร์จะเข้าไปกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน ช่วยเติมเต็มบริเวณที่ขาดหายไป ทำให้ใบหน้ามีมิติมากขึ้น ผิวดูชุ่มชื้น และใบหน้าดูอ่อนกว่าวัย
- การทำเมโสเทอราพี (Mesotherapy): เป็นการรักษาโดยการฉีดสารบำรุงที่มีความเข้มข้นเข้าสู่ผิวหนังชั้นกลาง เพื่อแก้ไขปัญหาผิวหน้า เช่น ผิวหน้าหมองคล้ำ รูขุมขนกว้าง และผิวที่ขาดความชุ่มชื้น รวมถึงช่วยลดไขมันส่วนเกิน ทำให้ใบหน้ากระจ่างใส ผิวอิ่มน้ำ และลดริ้วรอย เป็นต้น
3. รักษาด้วยกลุ่มการดูแลผิวด้วยผลิตภัณฑ์บำรุง
การดูแลผิวด้วยผลิตภัณฑ์บำรุง เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่ควรทำเป็นอันดับแรก และควรทำอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ผิวมีสุขภาพดี เปล่งปลั่ง และช่วยชะลอความเสื่อมของผิว การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงที่เหมาะสมกับผิวจึงเป็นสิ่งสำคัญ
- การใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว (Skincare Products) มีหลายขั้นตอน โดยแต่ละขั้นตอนจะใช้ผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งแต่ละขั้นตอนจะมีการใช้ผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกันออกไป
- การทำความสะอาดผิวหน้า ขจัดสิ่งสกปรกและเครื่องสำอางออกอย่างหมดจด ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่อ่อนโยนและมีค่า pH อยู่ที่ 4.5-5.5
- การใช้โทนเนอร์ เพื่อปรับค่า pH ของผิวให้สมดุล และเตรียมผิวให้พร้อมรับการบำรุงขั้นต่อไป
- การทาเซรั่ม เซรั่มมีเนื้อเบา ซึมเร็ว และมีสารบำรุงเข้มข้น ช่วยแก้ไขปัญหาผิวเฉพาะจุด เช่น รอยแดง รอยดำ และริ้วรอย
- การทามอยส์เจอไรเซอร์ เติมความชุ่มชื้นให้ผิว ป้องกันผิวแห้งกร้าน และลดการสูญเสียน้ำของผิว
- การทาครีมกันแดด ป้องกันผิวจากรังสี UV ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำร้ายผิว
10 วิธีป้องกันการเกิดหน้าลอกเป็นขุย
การเกิดหน้าลอกเป็นขุย ผิวหนังจะแห้งแตกเป็นสะเก็ด มีอาการคันบริเวณผิวหน้า และรอยแดงที่ผิว ซึ่งหากบุคคลใดพบเจอกับปัญหานี้ อาจส่งผลเสียต่อความมั่นใจในรูปลักษณ์หรือสูญเสียความน่าเชื่อถือในหน้าที่การงาน เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบดังกล่าว เราสามารถป้องกันการเกิดหน้าลอกเป็นขุยได้ด้วยวิธีการดังนี้
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว น้ำจะช่วยปรับสมดุลให้กับร่างกาย นอกจากนี้ยังทำให้ผิวหนังดูชุ่มชื้น มีความสดใส และไม่แห้งกร้าน
- การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ควรเลือกทานผัก ผลไม้ หรือเนื้อสัตว์ที่มีส่วนประกอบของวิตามินบี วิตามินอี และกรดไขมันจำเป็น สารอาหารเหล่านี้จำเป็นต่อสุขภาพผิว
- การพักผ่อนให้เพียงพอ ควรมีการพักผ่อนอย่างน้อย 7 – 8 ชั่วโมงต่อวัน โดยการนอนหลับอย่างเพียงพอจะช่วยให้ผิวเกิดการฟื้นฟู
- การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่อ่อนโยน ควรหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีค่ากรดด่างสูงเกินไป ซึ่งค่า pH ที่เหมาะสมกับผิวจะอยู่ที่ 4.5-5.5
- การบำรุงผิวด้วยมอยส์เจอไรเซอร์หรือเซรั่มที่มีส่วนผสมของ ไฮยาลูรอน (Hyaluronic acid) ซึ่งจะช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นให้กับผิว
- หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ น้ำหอม สารกันบูด หรือสารเคมีที่กระตุ้นให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหน้า
- การมาส์กหน้า ควรเลือกใช้มาส์กที่มีส่วนผสมของสารให้ความชุ่มชื้น เช่น ว่านหางจระเข้ น้ำผึ้ง หรือมะเขือเทศ ซึ่งควรทำอย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 – 2 ครั้ง
- งดการสครับผิวหน้าอย่างรุนแรง และควรเลือกใช้สครับที่มีเนื้อละเอียด เพราะการใช้สครับที่มีเนื้อหยาบจะทำให้เกิดการอักเสบและลอกเป็นขุยได้
- การล้างหน้า ควรล้างหน้าเพียง 2 – 3 ครั้งต่อวัน และห้ามล้างหน้า หรืออาบน้ำด้วยน้ำร้อนจัด เนื่องจากความร้อนจะทำให้ผิวแห้ง
- การทาครีมกันแดด อย่างที่ทราบ รังสี UV คือตัวการสำคัญที่คอยทำร้ายผิว ดังนั้นก่อนออกจากบ้าน หรือก่อนทำกิจกรรมกลางแจ้ง ควรทาครีมกันแดดทุกครั้ง ซึ่งควรเลือกตัวที่มีค่า SPF 30++