การฉีดฟิลเลอร์ช่วยคืนความอ่อนเยาว์ได้ทันใจ แต่บางครั้งอาจเกิดอาการ แพ้ฟิลเลอร์ โดยไม่คาดคิด เช่น ตุ่มแดง บวม คัน หรืออักเสบ ซึ่งทำให้หลายคนกังวลใจว่าควรทำอย่างไร หรือแก้ไขยังไงดี? บทความนี้จะพาคุณไปสังเกตอาการแพ้ฟิลเลอร์ที่พบบ่อย พร้อมวิธีรับมือและแก้ไขเบื้องต้น เพื่อให้คุณสวยอย่างปลอดภัยและมั่นใจยิ่งขึ้น
แพ้ฟิลเลอร์ อาการแบบไหน
- ฟิลเลอร์คือ
- อาการแพ้ฟิลเลอร์ เป็นอย่างไร
- สาเหตุของการแพ้ฟิลเลอร์
- การดูแลหลังฉีดฟิลเลอร์
- วิธีแก้ไขเบื้องต้นเมื่อพบว่าแพ้ฟิลเลอร์
- การป้องกันการแพ้ฟิลเลอร์
- คำถามที่พบบ่อย
ฟิลเลอร์คือ
ฟิลเลอร์ คือ สารเติมเต็มที่นิยมใช้ในการฉีดเข้าตรงบริเวณใต้ผิวหนัง เพื่อช่วยในการเติมเต็มร่องลึก และริ้วรอยบนใบหน้า ทำให้ผิวหนังบนใบหน้ามีความเรียบเนียน มีความอิ่มฟู รวมถึงทำให้ใบหน้าดูอ่อนกว่าวัย โดยฟิลเลอร์มีส่วนประกอบหลักคือ กรดไฮยาลูโรนิก (Hyaluronic Acid) ซึ่งเป็นสารที่สามารถพบได้ตามธรรมชาติในร่างกาย ซึ่งหลังจากทำการฉีดฟิลเลอร์ สาร HA จะเข้าไปจับกับโมเลกุลของน้ำ ทำให้ตรงบริเวณที่ฉีดมีปริมาณน้ำเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ผิวหนังมีความชุ่มชื้น ดูอิ่มฟู ริ้วรอยร่องลึกมีความตื้นขึ้น และริ้วรอยมีความจางลง นอกจากนี้ ฟิลเลอร์ยังช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างคอลลาเจนและอีลาสตินขึ้นมาใหม่ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผิวหนังมีความแข็งแรง และทำให้ผิวหนังมีความยืดหยุ่นขึ้น
อาการแพ้ฟิลเลอร์ เป็นอย่างไร
อาการแพ้ฟิลเลอร์สามารถเกิดขึ้นได้แม้ในผู้ที่ไม่มีประวัติการแพ้มาก่อน โดยอาการที่พบบ่อยคือ บวม แดง คัน หรือมีผื่นขึ้นบริเวณที่ฉีด ซึ่งอาจเกิดขึ้นทันทีหรือหลังจากฉีด 1-2 วัน ในกรณีที่รุนแรง อาจมีอาการบวมมากจนผิดปกติ ผิวหนังบริเวณที่ฉีดเปลี่ยนสี ซีดคล้ำ หรือเกิดก้อนแข็งใต้ผิวหนัง ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของการอุดตันของหลอดเลือด หรือการติดเชื้อ นอกจากนี้ หากมีอาการแพ้ทั่วร่างกาย เช่น ผื่นลามทั่วตัว หายใจลำบาก หรือหน้าบวมผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์ทันที เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง เนื่องจากอาการแพ้ฟิลเลอร์หากปล่อยทิ้งไว้ อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้
สาเหตุของการแพ้ฟิลเลอร์
แม้ฟิลเลอร์ส่วนใหญ่จะปลอดภัยและผ่านการรับรองมาตรฐาน แต่ก็ยังมีโอกาสเกิด อาการแพ้ฟิลเลอร์ ได้ในบางกรณี ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยหลายประการที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกระบวนการฉีดและสภาพร่างกายของผู้รับบริการ โดยสาเหตุหลักของการแพ้ฟิลเลอร์มีดังนี้
- การแพ้ที่เกิดจากส่วนผสมของฟิลเลอร์ ฟิลเลอร์บางชนิดอาจมีส่วนผสมของสารที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ เช่น สารไฮยาลูโรนิกแอซิด (Hyaluronic Acid) สารคอลลาเจน (Collagen) ซิลิโคน หรือสารเติมแต่งอื่นๆ ที่อาจจะทำให้เกิดการแพ้สำหรับผู้ที่มีผิวบอบบาง หรือไวต่อสารเคมีบางชนิด
- การแพ้ที่เกิดจากส่วนผสมของยาชา โดยปกติการฉีดฟิลเลอร์ มักจะมีการใช้ยาชาช่วยในการลดความเจ็บปวดระหว่างการฉีด ซึ่งในบางครั้งอาจเกิดการแพ้ยาชา เช่น ยาชาประเภท Lidocaine ก็อาจเกิดการแพ้ได้
- การแพ้ที่เกิดจากการติดเชื้อ หากหลังการฉีดไม่ได้ทำความสะอาด หรือฆ่าเชื้ออย่างถูกวิธี รวมถึงการสัมผัสกับสารที่มีเชื้อโรค อาจทำให้เกิดการติดเชื้อ และเกิดการอักเสบตรงบริเวณที่ฉีด
- การฉีดฟิลเลอร์โดยแพทย์ที่ขาดความชำนาญ และเทคนิคการฉีดที่ไม่ถูกต้อง หากมีการฉีดฟิลเลอร์โดยแพทย์ที่ไม่มีความชำนาญ หรือฉีดฟิลเลอร์ด้วยวิธีการที่ไม่ถูกต้อง เช่น ฉีดฟิลเลอร์ในตำแหน่งที่ผิด หรือปริมาณฟิลเลอร์ที่ใช้มากเกินไป อาจทำให้เกิดการระคายเคือง เกิดการอักเสบ และเกิดการแพ้
- ประวัติการแพ้ยา หากผู้ที่ทำการฉีดฟิลเลอร์มีประวัติการแพ้สารบางประเภท เช่น สารกันบูด สารเคมีในเครื่องสำอาง หรือยา อาจจะเสี่ยงต่อการเกิดการแพ้ รวมถึงบางคนอาจมีผิวที่บอบบาง และไวต่อสารเคมี ก็จะทำให้เกิดการแพ้ได้ง่ายกว่าปกติ
- การใช้ฟิลเลอร์ที่ไม่ได้มาตรฐาน การเลือกใช้ฟิลเลอร์ที่ไม่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐาน จะทำให้เกิดการแพ้ หรือทำให้เกิดการติดเชื้อได้
การดูแลหลังฉีดฟิลเลอร์
การดูแลหลังฉีดฟิลเลอร์ เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ผลลัพธ์คงอยู่ได้นานและลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ หลังฉีดฟิลเลอร์ควรหลีกเลี่ยงการแตะต้องบริเวณที่ฉีดแรง ๆ เพื่อป้องกันการเคลื่อนตัวของฟิลเลอร์ หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนัก ๆ และการสัมผัสความร้อนจัด เช่น ซาวน่า หรืออาบแดดในช่วง 48 ชั่วโมงแรก เพื่อป้องกันการอักเสบและบวม และอีกหนึ่งสิ่งสำคัญ คือ ควรดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อช่วยรักษาความชุ่มชื้นให้ผิวและทำให้ฟิลเลอร์อยู่ตัวเร็วขึ้น หากมีอาการบวมแดงเล็กน้อยสามารถประคบเย็นได้ แต่หากมีอาการผิดปกติ เช่น บวมแดงรุนแรง ปวด หรือผิวเปลี่ยนสี ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที นอกจากนี้ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำจากแพทย์อย่างเคร่งครัดเพื่อผลลัพธ์ที่สวยงามและปลอดภัย
วิธีแก้ไขเบื้องต้นเมื่อพบว่าแพ้ฟิลเลอร์
อย่างที่รู้กัน การฉีดฟิลเลอร์เป็นการฉีดสารเติมเต็มลงบริเวณผิวหนัง ซึ่งหากหลังจากการฉีดพบอาการแพ้ ควรรีบเข้าพบแพทย์ทันทีเพื่อทำการรักษาเบื้องต้น โดยวิธีแก้ไขเบื้องต้นเมื่อพบว่าแพ้ฟิลเลอร์ มีดังนี้
- งดการสัมผัส แตะ หรือถูตรงบริเวณที่ทำการฉีดฟิลเลอร์ เพื่อไม่ให้เกิดการกระตุ้นอาการแพ้ หรืออาการระคายเคืองมากขึ้น
- การประคบเย็น การประคบเย็นตรงบริเวณที่ฉีดจะช่วยลดอาการบวม อาการแดง และอาการอักเสบเบื้องต้น โดยใช้ผ้าชุบน้ำเย็น
- ใช้ยาต้านฮิสตามีน (Antihistamines) หากเกิดพบอาการแพ้เบื้องต้น เช่นอาการคัน หรือมีผื่นแดง สามารถใช้ยาต้านฮิสตามีน หรือยาแก้แพ้ ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการคัน และผื่นได้ แต่ควรได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ก่อนการใช้ยา
- การฉีดสาร Hyaluronidase (สำหรับฟิลเลอร์ประเภท Hyaluronic Acid) สำหรับบางกรณีของการแพ้ หรือเกิดปัญหาจากการฉีดฟิลเลอร์ หากแพทย์มีการประเมินฟิลเลอร์ที่ใช้ไม่เหมาะสม สามารถฉีด Hyaluronidase (เอนไซม์ที่ช่วยย่อยสลายฟิลเลอร์ที่เป็นสารไฮยาลูโรนิก) เพื่อลด หรือช่วยขจัดฟิลเลอร์ที่เกิดปัญหา
- ทาครีมให้ความชุ่มชื้น หากผิวเกิดการแห้ง หรือเกิดความระคายเคืองจากอาการแพ้ ให้ทาครีม หรือขี้ผึ้งที่ช่วยให้ความชุ่มชื้น และบรรเทาอาการระคายเคือง แต่ควรหลีกเลี่ยงครีม หรือยาที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ หรือน้ำหอม ที่อาจก่อให้เกิดความระคายเคืองมากขึ้น
- ติดตามอาการอย่างใกล้ชิด หากเกิดอาการแพ้ เช่นอาการบวมแดง หรืออาการคัน ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการประเมิณอาการ
- ติดต่อแพทย์ทันที หากเกิดอาการแพ้ขั้นรุนแรง เช่นอาการหายใจลำบาก บวมตรงบริเวณลำคอ หรืออาการบวมรุนแรงตรงบริเวณอ่อน ควรรีบพบแพทย์ทันที เพราะอาจจะเป็นอาการของการแพ้รุนแรง ซึ่งควรได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน
การป้องกันการแพ้ฟิลเลอร์
อย่างที่ทราบกัน การฉีดฟิลเลอร์ กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเป็นการฉีดสารเติมเต็มประเภท ไฮยาลูโรนิก (Hyaluronic acid) เข้าตรงบริเวณที่เกิดปัญหาหรืออยากแก้ไข ซึ่งหากมีการใช้สารที่ไม่ได้มาตรฐาน และฉีดกับแพทย์ที่ไม่มีความชำนาญ อาจก่อให้เกิดการแพ้ หรือการอักเสบได้ การป้องกันการแพ้ฟิลเลอร์จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอาการแพ้ หรืออาการระคายเคืองหลังจากการฉีด
วิธีการป้องกันการแพ้ฟิลเลอร์ มีดังนี้
- เลือกฉีดกับคลินิกที่ได้มาตรฐาน และฉีดกับแพทย์ที่มีความชำนาญ โดยคลินิกต้องมีใบอนุญาตสถานพยาบาลและเลขที่อนุญาตจำนวน 11 หลัก กับแพทย์ที่มีประสบการณ์ในการฉีดฟิลเลอร์ เพื่อความปลอดภัย และเพื่อผลลัพธ์ที่ต้องการ
- ปรึกษาแพทย์ก่อนการฉีดฟิลเลอร์ ควรมีการแจ้งประวัติสุขภาพ การแพ้ยา ยาที่ทานเป็นประจำ หรือโรคประจำตัว กับแพทย์อย่างละเอียด เพื่อให้แพทย์ทำการประเมิน หรือเลือกชนิดฟิลเลอร์ที่เหมาะสม
- ตรวจสอบฟิลเลอร์ก่อนฉีด ควรเลือกฟิลเลอร์ที่ได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาของประเทศที่จำหน่าย หากมีการใช้ฟิลเลอร์ที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจทำให้เกิดอาการแพ้
- ทดสอบการแพ้ก่อนการฉีด สำหรับบางกรณีแพทย์อาจจะแนะนำให้ทำการทดสอบการแพ้ โดยการฉีดสารฟิลเลอร์ในปริมาณน้อยลงตรงผิวหนังในบริเวณที่ไม่เห็นได้ง่าย เพื่อดูการตอบสนองของผิวหนัง เช่น อาการคัน อาการแดง หรืออาการบวม
- หลีกเลี่ยงการใช้สารที่อาจทำให้เกิดการแพ้ หากมีประวัติการแพ้สาร ควรมีการแจ้งกับแพทย์ก่อนการฉีดฟิลเลอร์ เพื่อให้แพทย์เลือกใช้สารที่ไม่ก่อให้เกิดการแพ้
- ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หลังจากการฉีดฟิลเลอร์ ควรจะปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เช่น งดการออกกำลังกายหนัก งดสัมผัสตรงบริเวณที่ฉีด และหลีกเลี่ยงการโดนแสงแดด
- สังเกตอาการหลังการฉีด หากเกิดอาการผิดปกติหลังจากฉีด เช่น อาการบวมแดง อาการร้อน อาการแพ้ อาการคัน และอาการระคายเคือง ให้รีบเข้าพบแพทย์ทันที
คำถามที่พบบ่อย
เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์
การเกิดอาการแพ้ฟิลเลอร์หลังการฉีด ถือเป็นเรื่องที่ต้องรีบพบแพทย์ทันที เพราะอาการแพ้แต่ละคนอาจมีความรุนแรงแตกต่างกันไป และหากปล่อยทิ้งไว้อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงได้ โดยการพบแพทย์โดยเร็วสามารถช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงและเพิ่มโอกาสในการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ฉีดฟิลเลอร์อันตรายไหม
การฉีดฟิลเลอร์ เป็นเทคนิคเสริมความงามที่ โดยทั่วไป ปลอดภัย หากทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ในการฉีดฟิลเลอร์ รวมถึงใช้อุปกรณ์และฟิลเลอร์ที่ได้มาตรฐาน หรือคลินิกที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานของรัฐ นอกจากนี้ การฉีดฟิลเลอร์ยังเป็นวิธีการที่ได้รับความนิยม ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับริ้วรอยร่องลึก ช่วยเพิ่มวอลลุ่มให้กับผิวหนัง ทำให้ผิวหนังเรียบเนียน และทำให้ผิวหนังดูอิ่มฟูและชุ่มชื้น เป็นต้น