ฟิลเลอร์ปลอม อันตรายร้ายแรงกว่าที่คิด เมื่อการฉีดฟิลเลอร์ ความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญที่สุด การใช้ฟิลเลอร์ปลอมไม่เพียงแต่จะทำให้ผลลัพธ์ไม่เป็นที่พอใจ แต่ยังอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอย่างรุนแรง ในบทความนี้ เราจะมาดูวิธีการตรวจสอบฟิลเลอร์ปลอม ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ฟิลเลอร์ปลอม รวมถึงข้อควรระวังก่อนการตัดสินใจฉีดฟิลเลอร์ เพื่อให้คุณมั่นใจได้ว่าคุณได้รับการรักษาที่ปลอดภัยและมีคุณภาพสูงสุด
ฟิลเลอร์ปลอม คืออะไร ?
อย่างที่ทราบกันดี ฟิลเลอร์ (Filler) คือ สารเติมเต็มประเภทไฮยาลูโรนิค แอซิด (Hyaluronic Acid : HA) ซึ่งตรงกันข้ามกับ ฟิลเลอร์ปลอม
ฟิลเลอร์ปลอม คือ ผลิตภัณฑ์เสริมความงามที่ถูกผลิตขึ้นมาอย่างไม่ได้มาตรฐาน และไม่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเลียนแบบฟิลเลอร์ของแท้ ที่ใช้ในการแก้ไขปัญหา ริ้วรอย ปรับโครงสร้างใต้ชั้นผิวและเติมเต็มจุดบกพร่องบนใบหน้าได้อย่างเป็นธรรมชาติ
ฟิลเลอร์ปลอม มักถูกผลิตขึ้นมาจากสารที่ไม่ปลอดภัยสำหรับร่างกาย เช่น ซิลิโคนเหลว น้ำมันพืช หรือสารสังเคราะห์อื่นๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดการปนเปื้อนของสารอันตราย หรือเชื้อโรค ได้ เนื่องจากไม่ได้ผ่านกระบวนการผลิตที่ถูกหลักสุขอนามัย นอกจากนี้โรงงานที่ผลิตก็ไม่ได้รับอนุญาต หรือไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งหากมีการฉีดฟิลเลอร์ปลอมเข้าไปในร่างกาย อาจจะทำให้เกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรง เกิดการอักเสบเรื้อรัง เกิดการตกค้างของสาร ไม่สลายหายไปตามธรรมชาติ เกิดอาการ บวม แดง และอาการเจ็บปวด
นอกจากนี้ ฟิลเลอร์ที่ทำการฉีดเข้าไปอาจจะเกิดการจับตัวเป็นก้อน และเกิดตุ่มที่แข็ง ตรงบริเวณที่ฉีด ที่สำคัญ หากเกิดการแพ้ขั้นรุนแรง อาจทำให้เนื้อเยื่อตาย หรือเสียชีวิตได้
ฟิลเลอร์ปลอมดูยังไง
อันตรายจากฟิลเลอร์ปลอม ไม่ได้แค่ทำให้หน้าพัง แต่ยังแฝงความเสี่ยงร้ายแรงถึงชีวิต เพื่อให้คุณห่างไกลจากความเสี่ยง และเลือกฉีดฟิลเลอร์อย่างปลอดภัย โดยวิธีการดูฟิลเลอร์ปลอม มีดังนี้
- สังเกตจากบรรจุภัณฑ์ โดยบรรจุภัณฑ์จะดูไม่น่าเชื่อถือ ฉลากไม่ชัดเจน ไม่มีฉลากภาษาไทย หรือเลขทะเบียน อย. ข้อมูลบนกล่องไม่ครบ หรือไม่ตรงกัน เช่น เลข Lot วันหมดอายุ แหล่งผลิต เป็นต้น
- สังเกตจากเนื้อฟิลเลอร์ โดยฟิลเลอร์ปลอมมีเนื้อเหลวหรือข้นกว่าปกติ สีเพี้ยน มีฟองอากาศ ฉีดแล้วรู้สึกเจ็บและแสบร้อนผิดปกติ
- สังเกตจากแหล่งที่มา แหล่งซื้อไม่มีความน่าเชื่อถือ เช่น ร้านขายยาออนไลน์ หรือคลินิกที่ไม่มีใบอนุญาต
- สังเกตจากราคา ฟิลเลอร์ปลอมจะมีราคาที่ถูกผิดปกติ
- สังเกตจากผลลัพธ์ ผลลัพธ์ไม่เป็นธรรมชาติ ดูแข็งเป็นก้อน ฟิลเลอร์ไม่สลายเอง อาจมีอาการแพ้หรือติดเชื้อหลังฉีด
ฟิลเลอร์แท้ดูยังไง
การฉีดฟิลเลอร์ เป็นการฉีดสารเติมเต็มตรงบริเวณที่เกิดปัญหา หรือต้องการแก้ไข ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย และเพื่อไม่ให้เกิดผลข้างเคียงที่อาจส่งผลต่อชีวิต ควรมีวิธีดูฟิลเลอร์แท้ว่าดูยังไง มีวิธีดูดังนี้
- สังเกตจากบรรจุภัณฑ์ โดยบรรจุภัณฑ์ต้องมีความสมบูรณ์ ไม่บุบ หรือมีรอยแกะ นอกจากนี้บนกล่องต้องมีฉลากภาษาไทยติดอยู่อย่างชัดเจน และมีจุดสังเกตุ ดังนี้
- มีเลขทะเบียน อย.
- มีเลข Lot ตรงกัน 4 จุด คือ เลข Lot ที่หลอด, เลข Lot ที่กล่อง, เลข Lot ที่สติกเกอร์ และ เลข Lot ที่ซองหรือหลอด
- สังเกตจากเนื้อฟิลเลอร์ โดยฟิลเลอร์ต้องเป็นเนื้อเจล มีความใส ไม่มีฟองอากาศ ไม่มีตะกอน มีสีที่สม่ำเสมอ นอกจากนี้เนื้อฟิลเลอร์ต้องมีความหนืดที่เหมาะสม เมื่อหลังจากการฉีดฟิลเลอร์จะมีการกระจายตัวได้ดี และจะมีความไหลลื่น
- สังเกตจากราคา ฟิลเลอร์จะมีราคาที่ค่อนข้างสูง ซึ่งขึ้นอยู่กับยี่ห้อ และปริมาณ เป็นต้น
- สังเกตจากแหล่งที่มา ฟิลเลอร์แท้จะมีใบรับรองการนำเข้า และมีมาตรฐานการผลิต นอกจากนี้ควรฉีดกับคลินิก หรือสถาพยาบาลที่ได้มาตรฐาน น่าเชื่อถือ และต้องฉีดโดยแพทย์ที่มีความชำนาญ
- สังเกตจากผลลัพธ์ เมื่อฉีดฟิลเลอร์แท้ ผลลัพธ์ที่ได้จะดูเป็นธรรมชาติ มีความเรียบเนียนไปกับผิวหนัง นอกจากนี้ยังสลายตัวเองได้ตามธรรมชาติ และไม่มีอาการแทรกซ้อน เช่นอาการติดเชื้อ หรืออาการแพ้ เป็นต้น
ตัวอย่างวิธีเช็คฟิลเลอร์แท้หรือปลอม
จะเกิดอะไรขึ้น? ถ้าคุณฉีดฟิลเลอร์ปลอม
อย่างที่รู้กัน ฟิลเลอร์ปลอม มักถูกผลิตขึ้นมาจากสารที่ ไม่ปลอดภัย ต่อร่างกาย เช่น ซิลิโคนเหลว น้ำมันพืช หรือสารสังเคราะห์อื่นๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดการ ปนเปื้อน ของสารอันตราย หรือ เชื้อโรค ได้ ซึ่งหากมีการ ใช้ฟิลเลอร์ที่มีลักษณะตามที่กล่าวมา อาจส่งผลข้างเคียง ดังนี้
- การติดเชื้อ: ฟิลเลอร์ปลอม ไม่ได้ผ่าน กระบวนการฆ่าเชื้อที่ถูกต้อง ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือไวรัสได้
- อาการแพ้: สารในฟิลเลอร์ปลอมอาจก่อให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง เช่น อาการบวม อาการแดง อาการคัน และผื่น ขึ้น เป็นต้น
- การอักเสบเรื้อรัง: ร่างกายอาจเกิดการตอบสนองต่อสารแปลกปลอม ส่งผลให้เกิดอาการอักเสบเป็นระยะเวลานาน
- ฟิลเลอร์เป็นก้อน: ฟิลเลอร์ปลอม อาจ เกิดการจับตัวเป็นก้อนใต้ผิวหนัง ส่งผลให้รูปหน้า ผิดรูป
- การอุดตันในหลอดเลือด: การฉีดฟิลเลอร์ปลอม ในตำแหน่งที่ผิด อาจทำให้เกิดการอุดตันในหลอดเลือด ส่งผลให้เนื้อเยื่อขาดเลือด
- ความเสียหายถาวร: การฉีดฟิลเลอร์ปลอม อาจส่งผลเสีย อย่างรุนแรง ต่อเนื้อเยื่อ และผิวหนัง อย่างถาวร
- การกำจัดยาก: ฟิลเลอร์ปลอม อาจ กำจัดออกจากร่างกายได้ยาก ทำให้เกิดปัญหาที่เรื้อรัง
- ผลกระทบต่อจิตใจ: การฉีดฟิลเลอร์ปลอม อาจส่งผล ต่อจิตใจ เนื่องจากความคาดหวังจากผลลัพธ์ที่ ไม่พึงประสงค์
ข้อควรระวังก่อนฉีดฟิลเลอร์
- ควรงดยาแอสไพริน, NSAIDs เช่น Ibuprofen, Diclofenac, Ponstan เป็นเวลา 1 สัปดาห์ก่อนทำหัตถการ และปรึกษาแพทย์ก่อนหยุดยา
- ควรงดวิตามิน St.John Wort, Ginko biloba, Primrose oil, Garlic, Ginseng, และ Vitamin E เป็นเวลา 1 สัปดาห์ก่อนทำหัตถการ
- ควรงดทายาผลัดเซลล์ผิว เช่น Tretinoin (Retin-A), Retinols, Retinoids, Glycolic Acid, หรือครีม Anti-Aging ทุกชนิด เป็นเวลา 3 วันก่อนทำ
- ควรงดการแว็ก ผลัดเซลล์ผิว การดึงขน หรือโกนขนบริเวณนั้น ๆ เป็นเวลา 3 วันก่อนทำหัตถการ
- หากมีคอร์สทำหน้า นวดหน้า หรือเลเซอร์ ควรทำก่อนอย่างน้อย 3 วัน เพราะหลังทำต้องเว้นไปอีก 2 สัปดาห์
- ควรงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ และงดสูบบุหรี่ เป็นเวลา 24 ชั่วโมงก่อนฉีด
- งดกิจกรรมทุกชนิดที่ทำให้เลือดสูบฉีด
- หากมีโรคประจำตัว หรือยาที่กินเป็นประจำอื่น ๆ ควรเตรียมข้อมูลแจ้งแพทย์ก่อนทำหัตถการ
ฉีดฟิลเลอร์ที่ไหนดี
อย่างที่ทราบกันดี การฉีดฟิลเลอร์เป็นการฉีดสารเติมเต็มตรงบริเวณที่เกิดปัญหา การเลือกสถานพยาบาลหรือคลินิกจึงมีความสำคัญ เพื่อความปลอดภัยและผลลัพธ์ที่ดี ดังนั้นสถานที่ที่เข้าไปใช้บริการควรมีลักษณะ ดังนี้
- คลินิกหรือสถานบริการต้องมีใบอนุญาตสถานพยาบาลและเลขที่อนุญาตจำนวน 11 หลัก อย่างชัดเจน และสามารถตรวจสอบได้
- ทีมแพทย์ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ รวมถึงต้องมีความชำนาญในการฉีดฟิลเลอร์
- คลินิกต้องเลือกใช้อุปกรณ์ หรือตัวยาที่เป็นของแท้
- คลินิกต้องมีบริการให้คำปรึกษา และสามารถตอบคำถามให้กับคนไข้ได้อย่างถูกต้อง
- ต้องมีรีวิวจากผู้ที่เข้ามาใช้บริการจริง โดยเฉพาะเคสที่เกี่ยวกับการฉีดฟิลเลอร์
- คลินิกหรือสถานที่ให้บริการต้องสะอาด ถูกหลักอนามัย และมีอุปกรณ์ที่เพียงพอเพื่อความปลอดภัย
- คลินิกหรือสถานที่ให้บริการต้องมีการอธิบายรายละเอียดก่อนทำและวิธีการดูแลตัวเองอย่างละเอียด รวมไปถึงทีมแพทย์ต้องมีการติดตามผลหลังการทำ
- คลินิกหรือสถานบริการต้องอยู่ในทำเลที่สะดวกต่อการเดินทางและการเข้าไปใช้บริการ